Site icon Thai Green Car : สู่อนาคตรถยนต์ไฟฟ้า Electric Car

พลังงานเปิดแผน 3 ระยะส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้า ผุดสถานีชาร์จ 690 แห่ง รอเรกูเลเตอร์เคาะค่าชาร์จไฟ

รถยนต์ไฟฟ้า //////////////////////// รถยนต์ไฟฟ้า เทรนด์ยานยนต์สุดล้ำ ลองหลับตานึกภาพอนาคตอันใกล้ รถยนต์ไฟฟ้าจะกลายเป็นพาหนะคู่ใจของมวลมนุษยชาติ หลังจากน้ำมันเชื้อเพลิงหลักในการขับเคลื่อนรถยนต์ในปัจจุบันกำลังร่อยหรอลงทุกขณะ เครื่องยนต์ลูกผสมระหว่างไฟฟ้ากับน้ำมันที่เรียกว่าไฮบริดคืออีกหนึ่งพัฒนาการสู่รถยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบ ในอารยประเทศรถยนต์ไฟฟ้าเริ่มเข้ามาทดแทนรถยนต์น้ำมันกันบ้างแล้ว แม้สัดส่วนจะยังไม่มากมายนัก แต่ทุกฝ่ายก็มองในทิศทางเดียวกันว่า เมื่อเทคโนโลยีถูกพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว รถยนต์ไฟฟ้า คือ จุดหมายปลายทางอีกจุดหนึ่งของการพัฒนาด้านยนตรกรรมของมนุษย์ ////////////////////////

แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่าขณะนี้กระทรวงพลังงานจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย (อีวี) ปี 2559-2579 เสร็จเรียบร้อยแล้ว และในเดือน ส.ค.นี้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (เรกู เลเตอร์) จะประกาศโครงสร้างค่าไฟฟ้าภาคขนส่งชั่วคราว และประกาศจดทะเบียนมาตรฐานสถานีชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า จากนั้นจะให้ผู้สนใจยื่นจดทะเบียน

“อัตราค่าไฟฟ้าจะแตกต่างกัน คือ หากชาร์จในช่วงกลางคืนจะอยู่ที่ 2.60 บาท/หน่วย หากชาร์จในช่วงกลางวันค่าบริการจะอยู่ที่ 6 บาท/หน่วย ซึ่งจะจูงใจให้เกิดการชาร์จไฟฟ้าช่วงกลางคืน เพื่อลดการเกิดไฟพีกในช่วงเวลากลางวัน โดยสูตรค่าไฟเบื้องต้นจะมีส่วนที่รัฐอุดหนุนไฟฟรีกรณีที่ใช้ไม่เกิน 50 หน่วย เนื่องจากต้นทุนสิ้นเปลืองพลังงานต่อกิโลเมตรของรถยนต์ไฟฟ้าจะต่ำกว่าก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในยานยนต์ (เอ็นจีวี)” แหล่งข่าวกล่าว

แหล่งข่าวระบุว่า สำหรับรายละเอียดแผนปฏิบัติการแบ่งเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 (2559-2560) ขณะนี้ได้เริ่มมาแล้ว โดยองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จะนำรถเมล์ไฟฟ้ามาใช้งานก่อน 20 คัน ขณะที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และบริษัท ปตท. จะมีโครงการนำรถยนต์อีวีและสถานีประจุไฟฟ้ามาใช้ภายในองค์กร รวมทั้งมีแผนส่งเสริมกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ เช่น โรงแรม ห้างสรรพสินค้า สำนักงานออฟฟิศ และหมู่บ้านอาคารชุด ให้นำรถยนต์ไฟฟ้ามาให้บริการ โดยภาครัฐจะสนับสนุนสถานีอัดประจุไฟฟ้า

ระยะที่ 2 (2561-2563) สนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาสมรรถนะแบตเตอรี่ มาตรฐานรถ และสถานี รวมทั้งกำหนดกฎหมาย ขั้นตอนการอนุญาต อัตราภาษี และโครงสร้างค่าไฟฟ้าถาวรสำหรับการชาร์จรถไฟฟ้า ซึ่งจะสอดรับกับโครงการเมืองอัจฉริยะหรือสมาร์ทซิตี้ ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (เอสพีพี) ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนขายให้ กฟผ. เพื่อจ่ายไฟฟ้าในเขตสมาร์ทซิตี้

ระยะที่ 3 (2564-2579) ส่งเสริมให้มีรถยนต์อีวี 1.2 ล้านคัน และมีสถานีอัดประจุไฟฟ้า 690 สถานี พร้อมพัฒนาระบบชาร์จไฟฟ้าอัจฉริยะ

ขอขอบคุณบทความจาก : http://www.posttoday.com/auto/news/443659

ความเห็นของคุณ

comments

Exit mobile version